Hotline 083-411-9393
Saturday , 5 July 2025
Home Lifestyle วิศวะ DPU โชว์งานวิจัยนักศึกษา ประยุกต์ใช้ AI เพื่อชีวิตและธุรกิจที่ดีขึ้น
Lifestyle

วิศวะ DPU โชว์งานวิจัยนักศึกษา ประยุกต์ใช้ AI เพื่อชีวิตและธุรกิจที่ดีขึ้น

วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (CITE) ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ โชว์สุดยอดไอเดียเปิดตัวอย่างงานวิจัยของนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ นำ AI มาใช้เป็นเครื่องมือ ‘จับความรู้สึกของผู้ใช้บนโลกไซเบอร์’ ‘ตรวจสอบภาวะออทิสติกในเด็ก’ ‘สร้างชุดทดสอบการทำงานของซอฟต์แวร์’ ตอกย้ำมาตรฐานหลักสูตรสร้างคุณค่าให้นักศึกษาสร้างเทคโนโลยีด้วยตัวเอง ได้รู้จักเปลี่ยนความรู้จากห้องเรียนมายกระดับคุณภาพชีวิตและธุรกิจด้วยนวัตกรรม

ผศ.ดร.ชัยพร เขมะภาตะพันธ์ คณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (CITE) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) เปิดเผยว่า ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) ที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ได้เห็นงานวิจัยขับเคลื่อนสู่มิติใหม่ๆ มากขึ้น เช่น การนำ Agentic AI มาช่วยตรวจจับความรู้สึกของข้อความที่โพสต์บนโซเชียลมีเดีย หรือ การนำ AI มาช่วยตรวจวิเคราะห์ภาวะออทิสติกในเด็กวัยเรียน หรือ การใช้ AI สร้างชุดทดสอบการทำงานของซอฟต์แวร์ โดยเป็นงานวิจัยของนักศึกษาปริญญาโทสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ของ CITE ที่นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากหลักสูตรมาพัฒนาเป็นผลงานที่จับต้องได้ และสามารถนำไปต่อยอดเป็นชิ้นงานที่สามารถใช้ได้จริงในโลกของการทำงาน  

AI จับความรู้สึกบนโซเชียลมีเดีย

คุณปราชญา ป้องกัน นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ กล่าวว่า “การวิเคราะห์ความรู้สึกของความเห็นบนโซเชียลมีเดียอย่างมีประสิทธิภาพด้วยโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Model : LLM) ที่ปรับแต่งเฉพาะร่วมกับการใช้ Agentic AI ทำให้เข้าใจมุมมองทางความรู้สึกและอารมณ์ของคอมเมนต์ต่าง ๆ ที่โพสต์บนโซเชียลมีเดียได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งสำคัญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการตลาดที่สามารถรับรู้ความรู้สึกจากผู้ที่แสดงความเห็นได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เช่น เจ้าของผลิตภัณฑ์ต้องการทราบ feedback ที่มีต่อสินค้าและแบรนด์บนโซเชียลมีเดียว่าเป็นอย่างไร

โดยหลักการแล้ว Agentic AI จะคอยรวบรวมข้อความที่โพสต์บนเครือข่ายโซเชียลมาวิเคราะห์ตามกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งข้อความเหล่านี้จะถูกคัดแยกตามหมวดหมู่แล้วส่งไปยังตัวโมเดลภาษาใหญ่ (LLM) ที่ปรับแต่งให้เก่งเฉพาะด้านในการวิเคราะห์ความรู้สึก โดยจะบอกได้ว่าข้อความต่างๆ ความรู้สึกต่างๆ ได้แก่ “รู้สึกเป็นลบมากที่สุด” “ลบนิดหน่อย” “เป็นกลาง” “ค่อนข้างเป็นบวก” และ “รู้สึกเป็นบวกที่สุด” 

ปัจจุบันขอบเขตงานนี้จะอยู่ที่ YouTube เพียงช่องทางเดียว เนื่องจากแพลตฟอร์มรองรับการเชื่อมต่อผ่าน Agentic AI อยู่แล้ว แต่ในอนาคตสามารถต่อยอดการพัฒนาระบบไปได้อีกมาก เช่น Facebook TikTok เป็นต้น

คุณปราชญา กล่าวว่า จากคนที่เรียนจบปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ เคยทำงานด้านคอมพิวเตอร์กับธนาคารพาณิชย์มาก่อน หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ของ CITE เปิดกว้างสำหรับคนที่สนใจเรียนด้านนี้แต่ไม่ได้จบสายตรงมาให้มีโอกาสได้เรียน แล้วสิ่งที่ได้จากการเรียนปริญญาโทนี้ คือ หลักสูตรมีความทันสมัยมาก มีโอกาสได้ฝึกปฏิบัติแทบทุกวิชา ทำให้มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และ AI ค่อนข้างลึกซึ้ง สามารถประยุกต์ใช้ความรู้นี้เพื่อพัฒนาตัวเองจนได้มาทำงานในสายเทคโนโลยีในปัจจุบัน

รู้ทันภาวะออทิสติก ด้วย AI

คุณสุดารัตน์ ภู่ทอง นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ กล่าวว่า การเป็นครูสอนคอมพิวเตอร์และศิลปะให้กับเด็ก ๆ ทำให้เห็นเด็กบางคนมีพัฒนาการที่ไม่เป็นไปตามวัย บางคนไม่ยอมพูด อาการย้ำคิดย้ำทำ ในขณะเดียวกันก็เรียนปริญญาโทที่มีการสอนเกี่ยวกับ AI จึงมีแนวคิดนำศาสตร์ทั้งสองด้านนี้มาพัฒนาให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

ปกติแล้วเด็ก ๆ จะชอบวาดภาพและระบายสีอยู่แล้ว ดังนั้นงานวิจัยนี้จะสร้างโมเดล AI ที่สามารถวิเคราะห์ภาพวาดที่เด็ก ๆ วาดและระบายสีมาทั้ง 105 ตัวอย่าง โดยทำการสอนให้ AI วิเคราะห์จากทั้งรูปทรง ลายเส้น และชุดการลงสีของภาพวาด ทำให้สามารถแยกแยะภาพวาดของเด็กที่มีแนวโน้มมีภาวะออทิสติก กับภาพวาดของเด็กปกติได้ โดยผลการศึกษามีความถูกต้องมากถึง 92% ซึ่งงานวิจัยสามารถต่อยอดมาพัฒนาเป็นแอปพลิเคชันเพื่อให้ใช้งานได้สะดวกมากขึ้น เป็นประโยชน์สำหรับแพทย์ พ่อแม่ ผู้ปกครอง คุณครู สามารถวินิจฉัยเบื้องต้นได้ เพื่อให้การรักษาดูแลเด็กได้แต่เนิ่น ๆ ต่อไป

คุณสุดารัตน์ กล่าวต่อว่า​ เดิมมีความสนใจศึกษาด้าน AI เพราะเป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทในชีวิตประจำวัน ทำให้ตัดสินใจเข้ามาเรียนในหลักสูตรระดับปริญญาโท แต่เนื่องจากจบไม่ตรงสาย อย่างไรก็ตาม หลักสูตรจัดให้มีการเรียนปรับพื้นฐานเพิ่มเติมทำให้ได้รับความรู้ตรงกับสิ่งที่อยากเรียน นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังมีสภาพแวดล้อมที่ดีมาก ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ เพื่อนๆ และสถานที่ ทำให้เรียนสนุก ไม่รู้สึกเครียดเลย

AI สร้างชุดทดสอบซอฟต์แวร์

คุณหทัยรัตน์ เจนวิทยา นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ กล่าวว่า จากประสบการณ์การทำงานเป็นนักทดสอบซอฟต์แวร์ (Software Tester) ทำให้เห็นปัญหาในจุดที่ AI สามารถเข้าไปเสริมประสิทธิภาพในงานได้ โดยเฉพาะการเขียน Code สำหรับการทดสอบซอฟต์แวร์ที่ต้องใช้ทีมงาน และระยะเวลาเป็นอย่างมาก

ปกติแล้วการทดสอบซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ จะต้องใช้ขั้นตอนและเวลาอย่างมากในการทำงาน แต่เจ้าของผลิตภัณฑ์มักจะต้องการทำให้เสร็จในเวลาอันสั้นเพื่อให้เกิดการใช้งานโดยเร็วที่สุด ดังนั้นจึงสนใจวิจัยนำ AI ช่วยสร้างชุดทดสอบซอฟต์แวร์ หรือที่เรียกว่า Test case โดยสามารถเลือกเป็น Unit test,  System test และ Performance test ได้ ผลวิจัยที่ได้ทำให้ tester ทดสอบซอฟต์แวร์ได้เร็วและดียิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยองค์กรธุรกิจลดการใช้ทรัพยากรลงได้อย่างมาก ทั้งด้านเวลาและบุคลากร

คุณหทัยรัตน์ กล่าวต่อว่า เดิมจบวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และทำงานเป็น Software tester อยู่แล้ว แต่ต้องการพัฒนาตนเองต่อจึงตัดสินใจมาเรียนต่อระดับปริญญาโทที่ CITE เพราะจุดเด่นที่เป็นหลักสูตรทันสมัย อาจารย์สอนดีเข้าใจง่าย ได้ฝึกปฏิบัติมาก ตอบโจทย์ในสิ่งที่อยากพัฒนา โดยเฉพาะ AI ขณะที่หลักสูตรที่อื่นจะเน้นสอนฮาร์ดแวร์เป็นหลัก นอกจากนี้ บรรยากาศการเรียนที่นี่ก็สนุกจากการเอาเคสจริงมาเรียน เช่น ได้ฝึกทดสอบเจาะระบบ ป้องกันแฮคเกอร์อย่างไรดี หรือซอฟต์แวร์จะมีช่องโหว่ใดบ้าง ความรู้ที่ได้ในหลักสูตรนี้สามารถนำไปใช้กับอาชีพที่ทำอยู่ในปัจจุบันได้มากถึง 70-80%

จากกรณีตัวอย่างงานวิจัยด้าน AI ของนักศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ทำให้เรามองเห็นภาพในอนาคตได้อย่างชัดเจนขึ้นในการนำ AI มาประยุกต์กับการทำงานต่าง ๆ ได้อย่างไร โดย CITE DPU มีการเรียนการสอนระดับปริญญาโทที่ทันสมัยทั้ง 4 หลักสูตร ได้แก่ 1.วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 2.การจัดการทางวิศวกรรมและเทคโนโลยี 3.วิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และข้อมูล และ 4.เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งทุกหลักสูตรมีการแทรกสอดเนื้อหา AI เข้าไปในหลักสูตรตามความเหมาะสมของแต่ละหลักสูตรตอบโจทย์ความต้องการในยุคปัจจุบันที่ AI มีบทบาทในทุกองค์กร

Recent Posts

Categories

Related Articles

สสส. จับมือเครือข่าย ส่งโฆษณาสั้น 4 เรื่อง ชวนคนไทยวางแก้วเหล้า ตั้งสติ คิดดี สร้างชีวิตที่ดี “นักวิจัย” เผยแอลกอฮอล์เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็ง 8 ชนิด และยอดเจ็บตาทางถนน 5 ปี 2.8 แสนคน ทำต้นทุนทางสังคมพุ่งเฉลี่ยคนละเกือบครึ่งล้านบาท ด้านเหยื่อเล่าหมดเปลือกผลกระทบน้ำเมา ทำครอบครัวแตกแยก สุดท้ายตายจาก

ภาคีเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มูลนิธิเด็กเยาวชน และครอบครัว สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) เครือข่ายชุมชนลดปัจจัยเสี่ยง เครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) ร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์...

เครือข่ายต้านกาสิโนฯ กว่า 100 คนบุกทำเนียบ เรียกร้องถอนร่าง พ.ร.บ. Entertainment Complex และพนันออนไลน์ แสดงจุดยืนต้องถอนไม่ใช่แค่ถอย

ภาคีเครือข่ายต้านภัยกาสิโนและพนันออนไลน์ จำนวนกว่า 100 คน เดินทางยังทำเนียบรัฐบาล ยื่นหนังสือเรียกร้องให้รัฐบาลถอนร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร (Entertainment Complex) และร่างแก้ไขพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 เรื่องพนันออนไลน์...

เครือข่ายต้านภัยกาสิโนและพนันออนไลน์ เตรียมยื่นข้อเรียกร้องถึงรัฐบาล ครม. และพรรคเพื่อไทยสัปดาห์หน้า ย้ำกาสิโนและพนันออนไลน์ ต้องถอนไม่ใช่แค่ถอย”

สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทย กลุ่มภาคีเครือข่ายต้านภัยกาสิโนและพนันออนไลน์ ประกอบด้วยตัวแทนจากหลายฝ่าย ทั้งราชวิทยาลัยแพทย์ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สภาคริสตจักรในประเทศไทย สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ สมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน สภาองค์กรชุมชนเขตคลองเตย เครือข่ายนักสาธารณะสุขจัดการปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ เครือข่ายสื่อสร้างสรรค์เพื่อการขับเคลื่อนสังคม เครือข่ายนักกฎหมายเพื่อสังคม...

คณะการท่องเที่ยวฯ DPU เปิดเคล็ดลับธุรกิจอาหาร “รอดให้ได้ รวยให้เป็น” จับมือเซียนธุรกิจปลุกกระแส ผปก.ยุคใหม่ สู้วิกฤต ชี้ชัด! ‘รสชาติ-ขายใคร’ คือ กุญแจความสำเร็จ

หลักสูตรศิลปะการประกอบอาหาร คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) จัดกิจกรรม “DPU Talk : กลยุทธ์รอด อยู่ให้ได้ รวยให้เป็น!” เพื่อกระตุ้นผู้ประกอบการรุ่นใหม่...