Hotline 083-411-9393
Sunday , 27 July 2025
Home News “มาห์เล” คว้าสัญญาเครื่องยนต์ไฮโดรเจนในรถบรรทุก “แมน ทรัค แอนด์ บัส”
News

“มาห์เล” คว้าสัญญาเครื่องยนต์ไฮโดรเจนในรถบรรทุก “แมน ทรัค แอนด์ บัส”

มาห์เล (MAHLE) ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ชั้นนำ และพาร์ทเนอร์ด้านการวิจัยและพัฒนาจากเมืองชตุทท์การ์ท ประเทศเยอรมนี คว้าสัญญาครั้งสำคัญในด้านระบบขับเคลื่อนยานยนต์ที่ยั่งยืน โดยบริษัท แมน ทรัค แอนด์ บัส  (MAN Truck & Bus) ผู้ผลิตยานยนต์เพื่อการพาณิชย์ และมาห์เล ได้บรรลุสัญญาเครื่องยนต์ไฮโดรเจนในรถบรรทุก “MAN hTGX”  ซึ่งเป็นยนตรกรรมที่ได้รับรางวัลนวัตกรรมรถบรรทุกแห่งปี 2568 (Truck Innovation Award 2025) ไปเมื่อไม่นานมานี้ โดยเครื่องยนต์ดังกล่าวเป็นแบบไดเรคอินเจคชัน 6 สูบ ปริมาตรกระบอกสูบ 16.8 ลิตร กำลังไฟฟ้า 383 กิโลวัตต์ จะได้รับการติดตั้งหน่วยเซลล์พลังงานไฮโดรเจนของมาห์เลที่ประกอบด้วยลูกสูบ แหวนลูกสูบ สลักลูกสูบ และปลอกสูบ ขณะเดียวกัน ส่วนประกอบเพิ่มเติมจากมาห์เลจะถูกนำมาใช้ในชุดควบคุมการเปิด-ปิดวาล์วด้วย โดยแมน ทรัค แอนด์ บัส วางแผนว่าจะผลิตรถบรรทุกดังกล่าวประมาณ 200 คัน ซึ่งจัดอยู่ในประเภทยานยนต์ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (ZEV) เพื่อจำหน่ายให้กับลูกค้าเฉพาะกลุ่มตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป ทั้งนี้ การใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในเครื่องยนต์สันดาปภายในถือเป็นกลไกสำคัญในการลดการปล่อยคาร์บอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคส่วนยานยนต์เพื่อการพาณิชย์ นอกเหนือจากระบบขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้าแล้ว เครื่องยนต์สันดาปภายในซึ่งใช้เชื้อเพลิงหมุนเวียนที่ยั่งยืนก็มีความสำคัญในเชิงกลยุทธ์สำหรับมาห์เล กรุ๊ป เช่นกัน

“มาห์เลประสบความสำเร็จในการถ่ายทอดความเชี่ยวชาญด้านส่วนประกอบเครื่องยนต์ที่สั่งสมมายาวนานถึง 100 ปีไปสู่อนาคต โดยผลิตภัณฑ์ลูกสูบและส่วนประกอบที่ทันสมัยอื่น ๆ ของเราทำให้เครื่องยนต์สันดาปภายในสามารถรองรับการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนได้ ซึ่งจะนำไปสู่ความเป็นกลางทางสภาพภูมิอากาศในที่สุด” ดร. โรเจอร์ บุช (Dr. Roger Busch) คณะกรรมการบริหารและหัวหน้าฝ่ายขายของมาห์เล กล่าว “ปัจจุบัน เราสามารถตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าได้เป็นอย่างดีทั้งในแง่ของสมรรถนะ ประสิทธิภาพ และอายุการใช้งาน”

มาห์เลประสบความสำเร็จในการพัฒนาส่วนประกอบเครื่องยนต์ให้สามารถรองรับการใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนได้ โดยผลการทดสอบต่าง ๆ ที่ศูนย์ทดสอบไฮโดรเจนของบริษัทในเมืองชตุทท์การ์ทเป็นเครื่องยืนยันถึงความพร้อมในการนำเทคโนโลยีเครื่องยนต์ไฮโดรเจนเข้าสู่สายการผลิตจริง โดยหน่วยเซลล์พลังงานไฮโดรเจนของมาห์เลช่วยลดการใช้น้ำมันของมอเตอร์และลดการรั่วไหลของก๊าซไฮโดรเจนเข้าไปในห้องข้อเหวี่ยงได้ ทำให้มอเตอร์ทำงานได้อย่างเสถียรและมีประสิทธิภาพ

ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงหมุนเวียนที่มีศักยภาพสูงสุดในการลดการปล่อยคาร์บอนจากการขนส่งในปัจจุบัน โดยมาห์เลมีความเชี่ยวชาญเชิงลึกด้านระบบและส่วนประกอบสำหรับเครื่องยนต์ไฮโดรเจน รวมถึงระบบส่งกำลังเซลล์เชื้อเพลิง ซึ่งมีศักยภาพในการสร้างความเปลี่ยนแปลงในภาคการขนส่ง เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ปัจจุบัน มาห์เลกำลังดำเนินโครงการพัฒนาเครื่องยนต์ไฮโดรเจนเกือบ 30 โครงการสำหรับลูกค้าทั้งภาคการขนส่งและภาคอุตสาหกรรม หนึ่งในนั้นคือการคว้าสัญญาจากบริษัท แมน ทรัค แอนด์ บัส ซึ่งเป็นผู้ผลิตยานยนต์อีกรายหนึ่งที่เริ่มเดินสายการผลิตโดยใช้ชิ้นส่วนเครื่องยนต์จากมาห์เล นอกจากนั้นบริษัทยังวางแผนเปิดตัวร่วมกับลูกค้ารายอื่น ๆ ในปี 2568 ที่กำลังจะมาถึงนี้ด้วย

Recent Posts

Categories

Related Articles

มาสด้าตอกย้ำเอกลักษณ์ยนตรกรรมที่สร้างความสำเร็จทั่วโลก

เมื่อเอ่ยถึงแบรนด์รถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นที่มีเรื่องราวความเป็นมามากกว่า 100 ปี ผ่านร้อน ผ่านหนาว และฝ่าฟันอุปสรรคนานัปการ แต่ยังคงยืนหยัดอย่างสง่างามท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมยานยนต์ของโลก นั่นคือแบรนด์ “มาสด้า” มาเจาะรายละเอียดว่ากว่าจะเดินทางมาไกลจนถึงวันนี้ มีอะไรที่มาสด้าได้รังสรรให้กับมวลมนุษยชาติไว้อย่างน่าสนใจ มาสด้า...

กรังด์ปรีซ์ฯ มอบรางวัลผู้โชคดี  จากงาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 46 รวมมูลค่ากว่า 1.94 ล้านบาท

 บริษัท กรังด์ปรีซ์  อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ผู้จัดงาน “บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์” ครั้งที่ 46 ภายใต้ธีม...

เอ็มจี คว้ารางวัลอีวีขวัญใจคนไทย Marketeer No.1 Brand Thailand 4 ปีซ้อน ยืนหยัดการเป็นยานยนต์ไฟฟ้าที่ผู้บริโภคเชื่อมั่น 

บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์ – ซีพี จำกัด และ บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด...

มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย ร่วมกับมูลนิธิเอสซีจี และโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว ตั้งโรงครัวช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ.น่าน

จากสถานการณ์ฝนตกหนักต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ของจังหวัดน่าน มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทยร่วมกับมูลนิธิเอสซีจี และโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว จัดตั้งโรงครัวช่วยเหลือ บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ที่ยังไม่สามารถอพยพได้ ระหว่างวันที่ 24–26 กรกฎาคม 2568 โรงครัวดังกล่าวจัดเตรียมอาหารและน้ำดื่มแจกจ่ายให้ผู้ประสบภัย เพื่อเสริมสร้างขวัญกำลังใจ...