Hotline 083-411-9393
Monday , 12 May 2025
Home Lifestyle สำนักงานคณะกรรมสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ผลักดันสร้างการท่องเที่ยวยุคใหม่ สังคมสุขภาวะไทยยั่งยืน ผ่านการขับเคลื่อน 2 นโยบายด้านเศรษฐกิจ-สุขภาพความเป็นอยู่ที่ดี ตามมติสมัชชาอนามัยโลกอย่างสมดุล
Lifestyle

สำนักงานคณะกรรมสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ผลักดันสร้างการท่องเที่ยวยุคใหม่ สังคมสุขภาวะไทยยั่งยืน ผ่านการขับเคลื่อน 2 นโยบายด้านเศรษฐกิจ-สุขภาพความเป็นอยู่ที่ดี ตามมติสมัชชาอนามัยโลกอย่างสมดุล

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 มีมติรับรองกรอบทิศทางนโยบาย “เศรษฐกิจยุคใหม่ สร้างสุขภาวะไทยยั่งยืน” New Wealth for Health คือ เศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันและอนาคตทั้งเศรษฐกิจมหภาคและเศรษฐกิจฐานรากที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี ภูมิปัญญา และการมีส่วนร่วมอย่างสำคัญของคนทุกวัยในการสร้างสรรค์ความเป็นหุ้นส่วนและสุขภาวะของคนทุกคน ตลอดทั้งสังคมและระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม ให้มั่นคงและยั่งยืน นั่นคือการก้าวสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ (NEW ERA ECONOMY) ของประเทศไทย

“มีความสมดุลจึงเกิดความเท่าเทียมทางสุขภาวะ ถ้าเศรษฐกิจสามารถเดินหน้าไปได้ต่อเนื่อง ประชาชนก็ต้องได้รับผลประโยชน์ด้านสุขภาวะที่ดีทุกมิติ”

เปิดมติรับรอง 2 วาระสุขภาพแห่งชาติ สร้างสมดุล 5 มิติ เศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง-สร้างหลักประกันสุขภาวะที่ดีให้คนในชาติ

ระเบียบวาระที่ได้รับการรับรอง 2 ประเด็นที่จะถูกขับเคลื่อนต่อหลังจากนี้ 1. การพลิกโฉมกำลังคนเพื่อสังคมสุขภาวะ มุ่งสร้างศักยภาพประชาชนให้เกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและจัดการกำลังคน ทั้งวิชาชีพและไม่ใช่วิชาชีพ เข้ามาหนุนเสริมความเข้มแข็งของระบบสุขภาพปฐมภูมิ 2. การท่องเที่ยวแนวใหม่ สู่สุขภาวะและเศรษฐกิจไทยยั่งยืน เดินหน้าขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นการท่องเที่ยวคุณภาพสูง มีสุขภาวะทั้งนักท่องเที่ยวและพื้นที่ท่องเที่ยว พร้อมร่วมกันบูรณาการสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากผ่านการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อเสนอทางนโยบายภายใต้การประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 ซึ่งสอดรับกับนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการผลักดันการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ Wellness Tourism ต่อยอดให้เกิดเป็นการท่องเที่ยวที่สร้างคุณค่า ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้พบกับประสบการณ์ที่น่าประทับใจจากการท่องเที่ยวในประเทศไทย และสามารถสร้างรายได้กระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อีก ซึ่งเศรษฐกิจกับสุขภาพถือเป็นประเด็นสำคัญสำหรับประเทศไทย

นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ความท้าทายด้านเศรษฐกิจกับสุขภาพสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทย ถือเป็นประเด็นที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำ การเข้าสู่สังคมสูงอายุ ฯลฯ ภายใต้แนวคิดการมองเรื่องสุขภาพในปัจจุบันที่มีการเชื่อมโยงกับมิติอื่น ๆ อย่างเป็นองค์รวมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One health) แนวคิดทุกนโยบายห่วงใยสุขภาพ (Health in All Policies) หรือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่นานาประเทศมุ่งขับเคลื่อนให้บรรลุภายในปี 2573

นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ ประธานคณะทำงานพัฒนาประเด็นการท่องเที่ยวแนวใหม่ สู่สุขภาวะและเศรษฐกิจไทยยั่งยืน กล่าวว่า มติดังกล่าวมีกรอบทิศทางนโยบาย คือ ทุกภาคส่วนในสังคมให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน มุ่งเน้นการสร้างสมดุลใน 5 มิติ “เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และสุขภาวะ” พร้อมร่วมกันบูรณาการสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากผ่านการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ยั่งยืน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนและประชาชน เพื่อพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวเพื่อประโยชน์ของคนในประเทศและระดับโลก

1.พัฒนา ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานรองรับการท่องเที่ยวแบบมีคุณภาพและยั่งยืน

2.ยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ บริการ ภูมิปัญญา และประสบการณ์ที่ส่งผลต่อสุขภาวะของนักท่องเที่ยว ประชาชนในชุมชน เป็นมิตรไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

3.พัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างความตระหนักรู้วัฒนธรรมท่องเที่ยวแนวใหม่ สำหรับผู้รับบริการ ผู้ให้บริการ และนักท่องเที่ยว

4.กำหนดมาตรการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อการท่องเที่ยวแนวใหม่ที่เชื่อมโยงทั้งในระดับประเทศและระดับชุมชน

5.สนับสนุนการศึกษาวิจัยด้านอุปสงค์ อุปทาน การประเมินผลกระทบที่เกิดจากการท่องเที่ยวแนวใหม่

    “โจทย์วันนี้คือการท่องเที่ยวยุคใหม่โจทย์ทำอย่างไรถึงจะมีความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจและสุขภาวะ ประเทศไทยมีความพร้อมด้านการท่องเที่ยวเรามีพื้นฐานที่ดีด้านธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และเป็นหัวใจหลักสร้างเม็ดเงินให้ประเทศ เพียงแต่วันนี้เราต้องมาทบทวนดูรอบด้านเพื่อให้สมดุลจนนำไปสู่การเกิดสุขภาวะที่ดี ประเด็นหลัก ๆ ที่มีความเห็นตรงกันในการเสนอมติครั้งนี้คือ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้มีความปลอดภัย ทำให้เห็นความเท่าเทียมกระจายไปทุกพื้นที่ และจะเป็นต้นแบบการพัฒนาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานทำให้เกิดการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวแนวใหม่” นพ.ธเรศ กล่าว

    พลิกโฉมกำลังคนเพื่อสังคมสุขภาวะทั้ง 4 ด้าน กาย ใจ สังคม ปัญญา เราต้องใช้ระบบสุขภาพปฐมภูมิเป็นฐาน มีทีมสุขภาพที่มีคุณภาพ และจริยธรรม มีการใช้เทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์และนวัตกรรมอย่างเหมาะสม เพื่อเชื่อมโยงสุขภาวะและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจอย่างสมดุล ให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ที่ตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน สังคมสูงวัย รวมถึงความท้าทายใหม่โดยการวางแผนและลงทุนอย่างมีกลยุทธ์ ในการสร้างศักยภาพประชาชนให้เกิดความตระหนัก ตื่นรู้ มีความรอบรู้ด้านสุขภาพที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของปัจเจกบุคคล ครอบครัว และชุมชน

    ดร.สัมพันธ์ ศิลปนาฎ ประธานคณะกรรมการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (คจ.สช.) ครั้งที่ 17-18 พ.ศ.2567-2568 กล่าวว่า การผลิต พัฒนาศักยภาพ และจัดการกำลังคนทุกวัย ทั้งกำลังคนวิชาชีพและไม่ใช่วิชาชีพ ให้มีเจตคติและพฤติกรรมที่หนุนเสริมความเข้มแข็งของระบบสุขภาพปฐมภูมิให้ปรากฏ ตามแนวคิดของปรัชญาการพัฒนาคนโดยการระเบิดจากข้างใน คือมีศักยภาพที่เพียงพอและเหมาะสมในการเปลี่ยนผ่านบริการสุขภาพยุคดิจิทัล โดยมีระบบการทำงานและการจ้างงานที่เป็นธรรม มั่นคง มีคุณค่า และได้รับการดูแลให้มีความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาสุขภาวะและเศรษฐกิจที่ยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

    นพ.สุเทพ เพชรมาก เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ใคร ๆ ก็อยากมีสุขภาพดีและก็อยากมีฐานะดี นี่คือเรื่องเศรษฐกิจยุคใหม่เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน คำว่าสุขภาพในความหมายใหม่ ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 สุขภาพที่ดีต้องมีครบทุกมิติทั้ง กาย ใจ สังคม ปัญญา เรามองสุขภาพในมิติที่กว้างไม่ใช่แค่เรื่องเจ็บป่วย และต้องเชื่อมโยงไปถึงเรื่องเศรษฐกิจและสังคม โดยการมีส่วนร่วมในการเริ่มต้นทำนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ภาครัฐและภาควิชาการ เป้าหมายคือนโยบายที่กำหนดร่วมกันถูกผลักดันไปให้ถึงประชาชนเป็นผู้ได้ประโยชน์สูงสุด

    ขณะที่ คุณไซมา วาเซด ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออก (WHO SEARO) กล่าวในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 17 ว่า สุขภาพ (Health) คือความมั่งคั่ง (Wealth) ที่แท้จริงของทุกประเทศ ซึ่งถือเป็นลักขั้นพื้นฐานในการทำงานของ WHO และเป็นสิ่งเดียวกันกับที่ทุกคนมารวมตัวกันในวันนี้ เพื่อมารับรองหลักการมีส่วนร่วมของสังคม ที่จะทำให้เสียงสะท้อนของผู้คนไม่ว่าจะเป็นปัญหา ความท้าทายข้อเสนอของกลุ่มคนต่างๆ ไม่ว่างจะอยู่ชายขอบห่างไกลแค่ไหน ก็สามารถส่งออกมาถึงผู้กำหนดนโยบาย เพื่อแปรเปลี่ยนไปสู่การปฏิบัติและขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนได้

    สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 17 มุ่งเน้นให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมเป็นสำคัญอย่างยิ่ง และนอกจากการมีส่วนร่วมในการพัฒนามติประเด็นนโยบายใน 2 ประเด็นหลักแล้ว ยังเปิดพื้นที่ในการสร้าง Community เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนสื่อสารด้านนโยบายสู่สุขภาวะในธีม ตลาดนัดนโยบาย ทุกภาคส่วนหยิบยกนโยบายที่สำคัญต่าง ๆ ซึ่งถูกร่วมพัฒนาแล้วนำไปสู่การปฏิบัติจนเกิดผลสำเร็จในหลากหลายพื้นที่ หวังให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะต่าง ๆ สร้างสังคมสุขภาวะให้เต็มพื้นที่ต่อไป พร้อมเปิดโอกาสให้เครือข่ายประชาชนเสนอประเด็นนโยบายที่จะพัฒนาเข้าสู่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 18 ต่อไปด้วย เพราะเราเชื่อว่า “สุขภาวะที่ดีคือพื้นฐานแห่งความสุขของมนุษย์”

    Recent Posts

    Categories

    Related Articles

    DPU ชู 2 หลักสูตรเด่น “บัญชีมหาบัณฑิต-MBA ยุคดิจิทัล” อัพสกิลเข้มข้น เรียนจบเร็ว ตอบโจทย์คนทำงาน

    มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) โดยวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) เดินหน้าพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ตอบรับความต้องการของตลาดแรงงานยุคดิจิทัล เปิดรับสมัครเรียนการบัญชีมหาบัณฑิตและบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) ปีการศึกษา 2568 เน้นการอัพสกิลผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถรอบด้าน พร้อมนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน...

    ห้ามพลาด! เวียตเจ็ทไทยแลนด์ออกโปรฯ เด็ด ฉลองดับเบิ้ลเดย์ 5.5 ตั๋วเริ่มต้น 55 บาท

    เวียตเจ็ทไทยแลนด์ฉลองวันดับเบิ้ลเดย์ 5.5 ด้วยโปรโมชั่นสุดพิเศษ “โปรฯ ดีบินฟินดับเบิ้ลคุ้ม! (5.5 Double Day Double Fun)” เสนอบัตรโดยสารราคาเริ่มต้นเพียง 55...

    อบก. จับมือ กกท. ลงนาม MOU ร่วมรณรงค์ลดก๊าซเรือนกระจก ดันกิจกรรมด้านกีฬาสู่รูปแบบ Carbon Neutral Event ผ่าน 4 องค์กรกีฬา

    องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) หรือ อบก. ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กับ การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ในการผลักดันและส่งเสริมการลดก๊าซเรือนกระจกจากการจัดแข่งขันกีฬา ในรูปแบบคาร์บอนนิวทรัลอีเวนต์ (Carbon Neutral...

    CITE DPU ชู 4 หลักสูตร ป.โท Upskill – Reskill รองรับ AI และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทุกองค์กรต้องการ

    วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (CITE) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) พัฒนาหลักสูตรปริญญาโท 4 หลักสูตรด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาบุคลากรให้ก้าวทันเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ( Artificial Intelligence) ที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด...